8. อุปายาส หมายถึง ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว
9. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก หมายถึง ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกาย) อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ (กิเลส) ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
10. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หมายถึง ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษม จากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
11. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น หมายถึง ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่ สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
สรุปว่าอุปาทานขันธ์ 5 ทั้งหมดนั่นเองที่เป็นทุกขสัจ เป็นโทษ เป็นภัยที่สุด.
ปกติแล้วเรามักเห็นว่า บางครั้งท่านใช้ความหมายของทุกข์ควบคู่ไปกับทุกขเวทนา, จนทำให้เข้าใจกันว่า ทุกข์หมายถึงความทุกข์เจ็บปวด เป็นต้น แต่หากพิจารณาตามข้อความที่ยกมานี้ จะพบว่า ใน 11 ข้อนี้ มีถึง 6 ข้อ (เกินครึ่ง) ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึงขันธ์ทั้งหมด. 6 ข้อนี้ ได้แก่ ชาติ, ชรา, มรณะ, ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
เมื่อว่ากันทั่วไปตามโวหารโลกตามหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้ว ในขณะที่เกิด (ปฏิสนธิขณะ) และขณะที่ตาย (จุติขณะ) ของสรรพสัตว์นั้น ไม่ว่าจะเกิดและตายอย่างพิสดารผาดโผนโจนทะยานเท่าใดก็ตาม แต่ชั่วเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาทีที่จะเกิดและตายนั้น จะไม่มีใครเกิด และตายอย่างมีทุกขเวทนา, และเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ให้ละเอียดลงไป การเกิดขึ้น (อุปาทานุขณะ) ความแก่ (ฐิตานุขณะ) และความตาย (ภังคานุขณะ) ของขันธ์ ก็ไม่ได้มีกับทุกขเวทนาเท่านั้นด้วย แต่มีกับขันธ์ 5 แทบทั้งหมด. ส่วนความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก,ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้วตัณหาจะไม่มีทุกขเวทนาเด็ดขาด. และความประจวบ ความพลัดพรากนั้น ก็มีกับขันธ์ทั้งหมด. ส่วนความปรารถนาแล้วไม่ได้นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้ว ก็ไม่เกิดกับทุกขเวทนาเช่นกัน และเมื่อกล่าวโดยรวมแล้วก็ยังจัดได้ว่ามีกับขันธ์ 5 ทั้งหมดด้วยเช่นกัน.
8. อุปายาส หมายถึง ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว9. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก หมายถึง ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกาย) อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ (กิเลส) ซึ่งมีแก่ผู้นั้น10. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หมายถึง ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษม จากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น11. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น หมายถึง ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่ สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนาสรุปว่าอุปาทานขันธ์ 5 ทั้งหมดนั่นเองที่เป็นทุกขสัจ เป็นโทษ เป็นภัยที่สุด.ปกติแล้วเรามักเห็นว่า บางครั้งท่านใช้ความหมายของทุกข์ควบคู่ไปกับทุกขเวทนา, จนทำให้เข้าใจกันว่า ทุกข์หมายถึงความทุกข์เจ็บปวด เป็นต้น แต่หากพิจารณาตามข้อความที่ยกมานี้ จะพบว่า ใน 11 ข้อนี้ มีถึง 6 ข้อ (เกินครึ่ง) ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึงขันธ์ทั้งหมด. 6 ข้อนี้ ได้แก่ ชาติ, ชรา, มรณะ, ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเมื่อว่ากันทั่วไปตามโวหารโลกตามหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้ว ในขณะที่เกิด (ปฏิสนธิขณะ) และขณะที่ตาย (จุติขณะ) ของสรรพสัตว์นั้น ไม่ว่าจะเกิดและตายอย่างพิสดารผาดโผนโจนทะยานเท่าใดก็ตาม แต่ชั่วเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาทีที่จะเกิดและตายนั้น จะไม่มีใครเกิด และตายอย่างมีทุกขเวทนา, และเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ให้ละเอียดลงไป การเกิดขึ้น (อุปาทานุขณะ) ความแก่ (ฐิตานุขณะ) และความตาย (ภังคานุขณะ) ของขันธ์ ก็ไม่ได้มีกับทุกขเวทนาเท่านั้นด้วย แต่มีกับขันธ์ 5 แทบทั้งหมด. ส่วนความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก,ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้วตัณหาจะไม่มีทุกขเวทนาเด็ดขาด. และความประจวบ ความพลัดพรากนั้น ก็มีกับขันธ์ทั้งหมด. ส่วนความปรารถนาแล้วไม่ได้นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้ว ก็ไม่เกิดกับทุกขเวทนาเช่นกัน และเมื่อกล่าวโดยรวมแล้วก็ยังจัดได้ว่ามีกับขันธ์ 5 ทั้งหมดด้วยเช่นกัน.
การแปล กรุณารอสักครู่..
