ดังนั้นในส่วนของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่อาศัยรูปแบบทางทะเลดังที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบการดำเนินงานในทางปฏิบัติโดยพิจารณาในแง่มุมทางกฎหมายประกอบ ซึ่งในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากเรือสินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการขนส่งนั้น อาจสรุปได้ด้วยรูปแบบ ดังนี้
วิธีการใช้ประโยชน์จากเรือเดินทะเลในลักษณะนี้จะเป็นการประกอบธุรกิจเดินเรือเพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยจะมีเจ้าของสินค้าจำนวนหลาย ๆ รายเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่ง แล้วเจ้าของสินค้าเหล่านั้นก็จะนำสินค้าของตนมาส่งมอบให้กับผู้ประกอบการขนส่ง ก่อนที่ผู้ขนส่งจะนำสินค้าเหล่านั้นมาบรรทุกและจัดเรียงในระวางเรือที่ตนใช้ในการขนส่ง ซึ่งลักษณะของการประกอบธุรกิจการรับขนของทางทะเลนั้นจะมีการกำหนดเส้นทางเดินเรือประจำ (Liner) ซึ่งหากเปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปไมยก็อาจถือเสมือนว่าการประกอบธุรกิจรับขนของทางทะเลนั้นเป็น “รถประจำทาง” เพราะจะมีเส้นทางประจำและมีผู้ใช้บริการจากรถคันดังกล่าวเป็นจำนวนมาก (เทียบเคียงได้กับบรรดาเจ้าของสินค้าที่นำสินค้าของตนมาส่งมอบให้กับผู้ขนส่ง) ในขณะที่กรณีของการทำสัญญาชาเตอร์ปาร์ตี้จะเปรียบเสมือนเป็น “รถแท็กซี่” ที่ผู้ชาเตอร์เรือจะเป็นบุคคลเพียงรายเดียวที่ใช้ประโยชน์จากเรือ
จากลักษณะของการใช้ประโยชน์จากเรือเดินทะเลเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศดังที่กล่าวอธิบายมาข้างต้นนี้ จะสังเกตได้ว่าลักษณะแห่งสัญญาเพื่อการใช้ประโยชน์จากเรือในแต่ละรูปแบบนั้นจะมีความแตกต่างกันในแง่ของอำนาจทางการต่อรองของคู่สัญญา กล่าวคือ ในกรณีของการทำสัญญาชาเตอร์ปาร์ตี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีอำนาจการต่อรองที่เท่าเทียมกัน เพราะคู่สัญญาตามสัญญาประเภทนี้จะเป็นไปในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง คือเจ้าของเรือ 1 รายและผู้ชาเตอร์เรืออีก 1 ราย โดยต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจในการต่อรองกันได้อย่างสุดความสามารถ ในขณะที่กรณีของสัญญารับขนของทางทะเลนั้นผู้ขนส่ง 1 รายจะเป็นคู่สัญญากับเจ้าของสินค้าอีกหลายราย ซึ่งอำนาจการต่อรองแห่งสัญญาในลักษณะนี้จะสังเกตได้ว่าผู้ขนส่งจะมีอำนาจการต่อรองที่สูงกว่า เพราะบรรดาเจ้าของสินค้าที่มาเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งนั้นโดยส่วนมากจะเป็นพ่อค้ารายย่อยที่ไม่ได้มีสินค้ามากเพียงพอที่จะไปเช่าหรือชาเตอร์เรือได้ทั้งลำ
ด้วยเหตุนี้ในกรณีของการทำสัญญารับขนของทางทะเลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเฉพาะเข้ามาควบคุมมิให้เกิดการทำสัญญาในลักษณะที่เป็นการเอาเปรียบเจ้าของสินค้าที่มีอำนาจการต่อรองน้อยกว่า กฎหมายเฉพาะที่กล่าวถึงในที่นี้หมายถึง พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ซึ่งจะมีบทบัญญัติว่าด้วยข้อกำหนดแห่งสัญญาที่อาจมีผลเป็นโมฆะ ถ้าหากว่าข้อกำหนดเหล่านั้นมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้ส่งหรือเจ้าของสินค้า เช่น การกำหนดปลดเปลื้องผู้ขนส่งจากหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งให้น้อยกว่าที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ การกำหนดให้ผู้ขนส่งเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันภัยแห่งสินค้าที่ขนส่งเป็นต้น
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขนส่งสินค้าทางบกและสถานีขนส่งสินค้าภายในของประเทศจีน
(คำสั่งกระทรวงคมนาคม หมายเลขที่ 6 ปี ค.ศ. 2005)
มาตรา 1 เพื่อกำหนดมาตรฐานการประกอบกิจการการขนส่งสินค้าทางบกและสถานี (สถานที่) ขนส่งสินค้าทางบก เพื่อรักษาความมีระเบียบของตลาดการขนส่งสินค้าทางบกและคุ้มครองความปลอดภัยในการขนส่งทางบก เพื่อการคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายในการขนส่งสินค้าทางบกและสถานี (สถานที่) ขนส่งสินค้า