การศึกษาเรื่อง“วุ้นผักผลไม้เพื่อสุขภาพ”วัตถุประสงค์1.)เพื่อศึกษาการทำวุ้นผักผลไม้และส่วนประกอบหลักที่นำมาใช้ 2.) เพื่อนำไปสร้างอาชีพเสริมเพื่อหารายได้และถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้กับผู้ที่มีความสนใจ 3.) เพื่อศึกษาการดัดแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆออกสู่สังคมให้ประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนรุ่นหลังที่มีความสนใจโดยใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ส่วนผสมที่มีคุณภาพ และอุปกรณ์ในการทำวุ้นผักผลไม้ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม “วุ้นผักผลไม้เพื่อสุขภาพ” และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) หรือค่า(S.D.)
ผลการศึกษาพบโดยภาพรวมผู้เข้ากิจกรรม “วุ้นผักผลไม้เพื่อสุขภาพ” อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด(X = 4.35, S.D =0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอันดับสูงสุดคือรสชาติของวุ้นผักผลไม้ที่รับประทาน(X = 4.35, S.D =0.53) อันดับรองลงมาคือสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ (X =4.1, S.D =0.71) และอันดับต่ำสุดคือการตกแต่งหน้าตาของวุ้นผักผลไม้และความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้มีความสนใจมากน้อยแค่ไหน(X = 3.55, S.D =1.84)