และสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงเกือบหนึ่งเท่าตัว เป็นร้อยละ ๓๙ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๐ แสดงให้เห็นถึง
ปัญหาเรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการผูกขาดในระบอบธุรกิจ
อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่อาหารที่แท้จริงแล้วอาจถือได้ว่าเป็นการคุกคามสิทธิทางอาหาร
ของปัจเจกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารล าดับต้นของโลก มี
ฐานทรัพยากร ศักยภาพขององค์กร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ที่สามารถจะท าให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิ
ทางอาหารได้ จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีการผูกขาดการผลิต และการกระจายอาหาร ทั้งนี้ ปัญหาการ
ผูกขาดนั้นเป็นปัญหาของทั่วโลกซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าและเกษตรเพิ่มขึ้น โดยมีรายงานว่าจากปี ๒๕๔๙ –
๒๕๕๐ ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ราคาเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๐ น้ ามันประกอบอาหารเพิ่มขึ้นร้อย
ละ ๕๐ และผลิตภัณฑ์จากนมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๘๐