2.4 benefits from tourism. คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว(Facilities Developed for Tourism Can Benefit Residents) การส่งเสริมท่องเที่ยวช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการ และ สิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ให้กับชุมชน รวมทั้งนำคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสู่ชุมชน ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการท่องเที่ยว อาทิ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงระบบสาธารณสุขและการขนส่ง การมีแหล่งสันทนาการและการกีฬาแห่งใหม่ การมีร้านอาหาร และ พื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น รวมถึงการมีตัวเลือกจำนวนมากของสินค้าและอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีได้รับการทำนุบำรุงขึ้นมาใหม่(Revaluation of Culture and Traditions) การท่องเที่ยวสามารถส่งเสริมการทำนุบำรุง และ การส่งต่อประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งช่วยส่งเสริม การอนุรักษ์และการจัดการอย่างยั่งยืนต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ การปกป้องมรดกของท้องถิ่น และ การฟื้นฟูงานฝีมือ ศิลปะ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ การท่องเที่ยวไม่ได้มีส่วนช่วยด้านการเงินในการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสนับสนุนทางอ้อมด้วย เช่น การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเรียนรู้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อรายได้ การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกของท้องถิ่นและของชาติยังผลให้เกิดความใส่ในการอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในด้านการดำเนินงาน และ การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเงื่อนไขสำคัญในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่หลากหลายอย่างยั่งยืน These positive results are caused by the sustainable tourism development, and in the appropriate way. What is needed is the indispensable involvement of the community that there is a positive attitude inevitably cause more than strong support and a better chance. In the development of tour operation and, therefore, a critical element of sustainable tourism is to contribute to community development, related decision to consider the economic benefits in the long term ecological system and equality of communities.Sisaket Province history 2.5 จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดชายแดนในภาคอีสานตอนล่าง ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมของหลากหลายชนชาติ โดยเฉพาะขอมโบราณ ที่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยอีสานได้อย่างลงตัวและกลมกลืน มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจศรีสะเกษยังมีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แหล่งน้ำ พืชพรรณ และสัตว์ป่านานาชนิด อันเป็นทั้งสิ่งที่หล่อเลี้ยงชาวเมืองมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและไม่ควรมองข้ามจังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่ประมาณ 8,840 ตารางกิโลเมตร หรือ 5.52 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลอนลาด ทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ทางตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักทอดตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มียอดเขาสูงสุด คือ พนมโนนอาว อยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีความสูง 671 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ศรีสะเกษเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในอดีตเคยเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากนานนับพันปี ตั้งแต่ในยุคขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่างๆ จากหลายเชื้อชาติอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้จำนวนมาก ทั้งพวกส่วย ลาว เขมร และเยอ ในปี พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่เป็นตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน ขึ้นเป็น “เมืองนครลำดวน” ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ริมหนองแตระ และมีชื่อใหม่ว่า "เมืองขุขันธ์" หรือ "เมืองคูขัณฑ์" โดยมี “หลวงแก้วสุวรรณ” ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดี” เป็นเจ้าเมืองคนแรก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่เรียกว่า “เมืองศรีสะเกศ” จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองศรีสะเกศและเมืองเดชอุดมเข้าเป็นเมืองเดียวกับเมืองขุขันธ์ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” เมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดขุขันธ์" ซึ่งเปลี่ยนอีกครั้งเป็น “จังหวัดศรีสะเกษ” เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่งพุทธศักราช 2481ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอไพรบึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุนหาญ อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอโนนคูณ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอพยุห์ กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และกิ่งอำเภอศิลาลาด
การแปล กรุณารอสักครู่..