ประวัติกีฬาโต้คลื่น(Surfing)
การเล่นเซิร์ฟหรือการเล่นโต้คลื่นนั้น มีที่มาจากประเพณีโบราณดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองของเกาะฮาวายและเกาะตาฮิติ ซึ่งชาวพื้นเมืองจะเล่นโต้คลื่นบนกระดานโต้คลื่นที่ทำจากไม้เนื้อแข็งประเภทต่างๆ โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่งที่ขึ้นบริเวณเกาะฮาวายที่เรียกว่า “ไม้โคอา – Koa” สมัยนี้สามารถชมกระดานโต้คลื่นที่ผลิตจากไม้ ที่ทำขึ้นในสมัยศตวรรตที่๑๕ ได้ที่พิพิธภัณฑ์บิชอฟ โฮโนลูลู บนเกาะฮาวาย
มีตำนานกล่าวขานกันว่าชาวฮาวายเล่าว่า มีการสวดมนต์บูชาให้กับท้องทะเลเพื่อขอพร ให้มีคลื่นที่ดีในเล่นโต้คลื่น และแสดงความเคารพต่อท้องทะเลโดยการเข้าแข่งขันโต้คลื่น
สถานที่โต้คลื่นหลายที่ ในฮาวาย มีการสร้างที่บูชาไว้โดยชาวพื้นเมืองฮาวายโบราณ เพื่อทำการสวดมนต์อ้อนวอนให้มีคลื่นสำหรับการโต้คลื่น เช่น ที่โบราณสถานคูอีมานูไฮอาอู (Kuemanu Heiau) ชายหาดคาฮาลู (Kahaluu Beach Park) หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 เมื่อมีมิชชั่นนารีคริสเตียน เข้ามาเผยแผ่ศาสนาและได้ตัดสินให้การโต้คลื่นนั้นขัดกับหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ มิชชั่นนารีได้สร้างโบสถ์เซ้นท์ปีเตอร์ ข้างๆซากสถานที่บูชานั้นเอง ต่อมาในปี ค.ศ.1980 รัฐฮาวาย ได้ทำการบูรณะสถานที่บูชานี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จนถึงเดี๋ยวนี้ นักโต้คลื่นทั้งหลายก็สามารถทำการบูชา ณ สถานที่ คูอีมานูไฮอาอู แห่งนี้เพื่อขอให้มีคลื่นดี เพื่อในการโต้คลื่น
การละเล่นโต้คลื่นในเกาะฮาวายและเกาะตาฮิติได้มีการบันทึกไว้ครั้งแรกโดย กัปตันเจมส์ คุก ในปี ค.ศ.1777 และมีการตีพิมพ์เป็นหนังสือในปี ค.ศ.1784 ในชื่อ A Voyage to the Pacific หรือ “การเดินทางสู่แปซิฟิค” ซึ่งกัปตันเจมส์คุก ได้เขียนอธิบายในสิ่งที่ตนเองพบเกี่ยวกับการโต้คลื่นไว้ว่า
“สรุปได้เลยว่าชายคนนั้นรู้สึกมีความสุขสุดยอดในขณะที่เขาโดนคลื่นในทะเลโล้ไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว”
การโต้คลื่นกลับมาเป็นที่แพร่หลายอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ.1920 โดยนักว่ายน้ำชาวฮาวายชื่อ ดุ๊ก คาฮานาโคมู ซึ่งทำให้การโต้คลื่นเป็นกีฬายอดฮิตในนานาประเทศที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ดุ๊ก คาฮานาโคมู เป็นผู้ที่ทำให้ชาวโลกได้ประจักการเล่นโต้คลื่นที่งดงามของชาวฮาวาย ผ่านความสามารถในการว่ายน้ำของเขา ที่ได้เหรียญทองและเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิค ในปี ค.ศ.1912, ค.ศ.1920 และปีค.ศ.1924
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งโบราณนั้นชาวประมงมีการโต้คลื่นทุกวัน ในการที่จะต้องออกไปหาปลาแต่ละวัน ก็จะต้องทำการโต้คลื่นออกไป และในเมื่อต้องการกลับเข้าฝั่งก็จะต้องขี่คลื่นเพื่อกลับมายังชายฝั่ง ในสมัยก่อนยุคล่าอาณานิคม บริเวณประเทศเปรู และเอกวาดอร์ ได้ปพบเห็นมีการใช้เรือที่ทำจากต้นกก ทำการโล้คลื่นเพื่อกลับเข้าฝั่งมาเป็น 1000 ปีมาแล้ว
คบไฟแห่งทีกีถูกจุดสว่างยามย่ำค่ำ เสียงของอูคูเลเล(กีต้าร์ฮาวาย)บรรเลงเพลงเต้นระบำ ใส่เลื้อฮาวายเดินบนผืนทรายในคืนพระจันทร์วันเพ็ญ(พระจันทร์เต็มดวง) โต้คลื่นด้วยกระดานยาวแบบคลาสสิค และนี่คือสวรรค์ของนักโต้คลื่น ในสถานที่ที่พูดได้อย่างเต็มปากว่าเป็นสถานที่กำเนิดของเซิร์ฟทัวริซึ่ม หรือที่ท่องเที่ยวของนักโต้คลื่นนั้นเอง
จากจดบันทึกอันแสนโรแมนติกของ แจ็ค ลอนดอน(Jack London) และมาร์ค ทเวน(Mark Twain) ทำให้ไวกีกีฮาวาย เป็นสถานที่แสนจะโรแมนติกและเย้ายวนใจของนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุผลสำคัญที่เกาะฮาวายได้นำไวกีกี มาใช้ในการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ ธุรกิจนำเที่ยวต่างๆ รวมไปถึงโรงงานสับปะรดอีกด้วย