การวางแผนชีวิตจะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นเตรียมการ คือการเตรียมตนเองให้พร้อมต่อการแสวงหาวัตถุ และพร้อมต่อการสะสมรักษาวัตถุที่จะก่อใก้เกิดความสุขทั้งกายและใจของตนเอง ซึ่งการเตรียมตนนั้น ก็จะหมายถึง การเติมเต็มความรู้ให้กับตนเอง การคบหรือการเรียนรู้จากแหล่งดีๆ ที่เราเรียกว่า กัลยาณมิตร อาจจะเป็นบุคคลที่เป็นปราชญ์ เป็นบุคคลที่รอบรู้ คนฉลาด หรืออาจจะเป็นหนังสือดีๆ สื่อดีๆ สภาวะแวดล้อมที่ดีๆ ได้ทั้งสิ้น ที่จะทำให้เราเองมีโอกาสตักตวงความรู้ ความฉลาดมาใส่ตัวเราเองให้มากที่สุด เรียกว่าเป็นขั้นปริยัติ (การเรียนรู้) ซึ่งตัวชี้วัดก็คือ ประกาศนียบัตร หลักฐานการจบการศึกษา ปริญญาบัตร ฯลฯ
2. ขั้นปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่ ขั้นตอนของการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เตรียมการไว้อย่างดี แสวงหาวัตถุ (ทรัพย์) ได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งจะพิสูจน์ได้จากความรู้สึกเป็นอิสระ มีความกล้าหาญ เบิกบาน ร่าเริง ต่อการได้วัตถุนั้นตลอดเวลา และสามารถแสดงออกมาได้ทั้งกายและวาจาได้ เรียกว่า เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติ ที่มีตัวชี้วัดคือผลของการใช้วาจา และผลของการประพฤติ แสดงออก
3. ขั้นการประเมินผล ซึ่งได้แก่ขั้นตอนของการเข้าใจ ความแจ่มแล้วต่อความแสวงหาวัตถุ ว่าเป็นความถูกต้อง ชอบธรรม และยุติธรรม สามารถตอบคำถามได้ว่า วัตถุที่ได้มานั้น วิเคราะห์สังเคราะห์ได้ว่า ผังความสุขมาให้ได้จริง และเป็นความสุขที่ได้จากการคิด การใช้เหตุผล มีความเข้าใจ แจ่มแจ้งว่าวัตถุที่ได้มานั้น สามารถสะสมและแบ่งปันให้ผู้อื่นในทางที่เป็นประโยชน์ได้อย่างแท้จริง