ระบบสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ
1.การแบ่งประเภทของดอกโดยอาศัยเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น กุหลาบ บัว ชงโค ถั่ว มะเขือ กล้วยไม้ มะม่วง ชบา ข้าว หญ้า ต้อยติ่ง มะลิ เฟื่องฟ้า แค ผักบุ้ง เป็นต้น
2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) หมายถึง ดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น ข้าวโพด มะละกอ มะพร้าว เงาะ ขนุน ฟักทอง บวบ แตงกวา มะยม มะระ ตำลึง เป็นต้น
2. การถ่ายละอองเรณู(Pollination)หมายถึง การที่ละลองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย การถ่ายละอองเรณูมี 2 แบบ คือ
Self Pollination คือ การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน
Cross Pollination คือ การถ่ายละอองเรณูต่างดอกหรือข้ามดอกกัน การที่ละอองเรณูไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย โดยอาศัยนํ้า ลม แมลง นก คน หรือสัตว์อื่น เป็นตัวพาไป เรียกว่า การถ่ายละอองเรณู อาจเกิดในดอกเดียวกัน หรือระหว่างดอกในต้นเดียวกันหรือดอก ที่อยู่คนต้นหรือคนละสถานที่ก็ได้
3. การปฏิสนธิ (Fertilization) เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียละอองเรณู จะงอกท่อยาว เรียกว่า หลอดเรณู (pollen tube)ลงไปในก้านเกสรตัวเมียจนถึงรังไข่ จากนั้นละอองเรณูจะปล่อยนิวเคลียสเข้าไปผสมกับ
นิวเคลียสของออวุล เรียกว่า การปฏิสนธิ ออวุลที่ถูกผสมแล้วจะกลายเป็นเมล็ด
4.การแพร่พันธุ์ของเม็ลด พืชโดยทั่วไปจะมีวิธีการแพร่พันธุ์ที่ี่แตกต่างกัน แต่วิธีที่ง่ายและเห็นได้ชัดเจน คือ การแพร่พันธุ์ของเมล็ด ซึ่งจะหมายถึง การแพร่กระจายของเมล็ดเพื่อแพร่พันธุ์จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง การแพร่พันธุ์ของเมล็ดมีหลายวิธีดังนี้ ลมพาไป เมล็ดของพืชประเภทนี้จะมีปีก หรือมี ลักษณะเบา ทำให้สามารถลอยไปตกในที่ไกลๆ เช่น ลูกสน ดอกหญ้า ฯลฯ
5. การงอกของเมล็ด เมื่อเมล็ดของพืชไปตกลง ยังที่ใดที่หนึ่ง และสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เมล็ดจะงอกเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ซึ่งในการงอก ของเมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการ ภาพแวดล้อมดังนี้
นํ้า เพื่อทำให้เปลือกเมล็ดยุ่ย รากและต้นอ่อน จะได้ทะลุออกมาได้ง่าย
แก๊สออกซิเจน เพื่อใช้ในกระบวนการสลายอาหาร
อาหาร ต้นอ่อนของพืช จะใช้อาหารจากใบเลี้ยงที่สะสมอาหารไว้
ระบบสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศ
1.ลำต้น
1.1 ลำต้นใต้ดินที่มีใบหนาทำหน้าที่สะสม เช่น หัวหอม
1.2 ลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง มีลักษณะกลม ยาว หรือกลมแบน ทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น หัวเผือก แห้วจีน
1.3 ลำต้นใต้ดินที่ทอดขนานกับผิวดิน มีใบ และรากทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น ขิง ข่า พุทธรักษา
1.4 ลำต้นใต้ดินที่มีอาหารสะสมอยู่มากมีตามาก เช่น มันฝรั่ง
1.5 ลำต้นเหนือดินที่อยู่ขนานกับผิวดินหรือนํ้าเกิดรากและเจริญเป็นต้นใหม่ เช่น บัวบก เป็นต้น
2.ราก ส่วนของรากที่ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ เช่น มันเทศ กระชาย ฯลฯ ส่วนที่เรานำมารับประทานได้นั้นเป็น ส่วนของราก ถ้านำมาหั่นเป็นชิ้นๆนำแต่ละชิ้นไปปลูกจะงอกเป็นมันเทศต้นใหม่ได้
3. ส่วนของใบที่ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ เช่น ใบของต้นควํ่าตายหงายเป็น หากทิ้งไว้จะงอก เป็นต้นเล็กๆ ขึ้นมาได้ ใบของต้นกุหลาบหินถ้าเอาก้านไปจุ่มไว้ในนํ้าหรือทรายจะงอกเป็นต้นเล็กๆ ได้
4.การขยายพันธุ์โดยมนุษย์ เช่น การตอน การติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่งและอื่นๆ ซึ่งชาวสวนทำกันมานานแล้ว
5. การกระจายของเมล็ด ในพืชมีดอกหลังจากปฏิสนธิแล้วผนังของรังไข่ (Overy wall) จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นผล ส่วนออวุล (Ovule) ที่อยู่ภายในังไข่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (Seed) และเมล็ดเหล่านี้จะกระจายจากต้นไปยังที่ต่างๆ ทำให้เมล็ดมีโอกาสเจริญไปเป็นต้นพืชในที่อื่นๆได้