2.4 ประโยชน์จากการท่องเที่ยว คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสิ่งอำ การแปล - 2.4 ประโยชน์จากการท่องเที่ยว คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสิ่งอำ อังกฤษ วิธีการพูด

2.4 ประโยชน์จากการท่องเที่ยว คนท้อง

2.4 ประโยชน์จากการท่องเที่ยว
คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว(Facilities Developed for Tourism Can Benefit Residents) การส่งเสริมท่องเที่ยวช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการ และ สิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ให้กับชุมชน รวมทั้งนำคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสู่ชุมชน ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการท่องเที่ยว อาทิ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงระบบสาธารณสุขและการขนส่ง การมีแหล่งสันทนาการและการกีฬาแห่งใหม่ การมีร้านอาหาร และ พื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น รวมถึงการมีตัวเลือกจำนวนมากของสินค้าและอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีได้รับการทำนุบำรุงขึ้นมาใหม่(Revaluation of Culture and Traditions) การท่องเที่ยวสามารถส่งเสริมการทำนุบำรุง และ การส่งต่อประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งช่วยส่งเสริม การอนุรักษ์และการจัดการอย่างยั่งยืนต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ การปกป้องมรดกของท้องถิ่น และ การฟื้นฟูงานฝีมือ ศิลปะ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ การท่องเที่ยวไม่ได้มีส่วนช่วยด้านการเงินในการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสนับสนุนทางอ้อมด้วย เช่น การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเรียนรู้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อรายได้ การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกของท้องถิ่นและของชาติยังผลให้เกิดความใส่ในการอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในด้านการดำเนินงาน และ การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเงื่อนไขสำคัญในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่หลากหลายอย่างยั่งยืน
สิ่งเหล่านี้เป็นผลลัพธ์ด้านบวกที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ในทางที่เหมาะสม สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ที่มีทัศนคติเชิงบวก ย่อมก่อให้เกิดแรงสนับสนุนที่มากกว่าและโอกาสที่ดีกว่า ในการพัฒนาและดำเนินการทางการท่องเที่ยว ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาชุมชน ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการตัดสินใจเพื่อพิจารณา ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว ระบบนิเวศน์ และ ความเสมอภาคของชุมชน

2.5 ประวัติจังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดชายแดนในภาคอีสานตอนล่าง ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมของหลากหลายชนชาติ โดยเฉพาะขอมโบราณ ที่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยอีสานได้อย่างลงตัวและกลมกลืน มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจศรีสะเกษยังมีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แหล่งน้ำ พืชพรรณ และสัตว์ป่านานาชนิด อันเป็นทั้งสิ่งที่หล่อเลี้ยงชาวเมืองมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและไม่ควรมองข้ามจังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่ประมาณ 8,840 ตารางกิโลเมตร หรือ 5.52 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลอนลาด ทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ทางตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักทอดตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มียอดเขาสูงสุด คือ พนมโนนอาว อยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีความสูง 671 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ศรีสะเกษเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในอดีตเคยเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากนานนับพันปี ตั้งแต่ในยุคขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่างๆ จากหลายเชื้อชาติอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้จำนวนมาก ทั้งพวกส่วย ลาว เขมร และเยอ
ในปี พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่เป็นตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน ขึ้นเป็น “เมืองนครลำดวน” ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ริมหนองแตระ และมีชื่อใหม่ว่า "เมืองขุขันธ์" หรือ "เมืองคูขัณฑ์" โดยมี “หลวงแก้วสุวรรณ” ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดี” เป็นเจ้าเมืองคนแรก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่เรียกว่า “เมืองศรีสะเกศ” จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองศรีสะเกศและเมืองเดชอุดมเข้าเป็นเมืองเดียวกับเมืองขุขันธ์ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” เมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดขุขันธ์" ซึ่งเปลี่ยนอีกครั้งเป็น “จังหวัดศรีสะเกษ” เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่งพุทธศักราช 2481ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอไพรบึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุนหาญ อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอโนนคูณ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอพยุห์ กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และกิ่งอำเภอศิลาลาด

0/5000
จาก: -
เป็น: -
ผลลัพธ์ (อังกฤษ) 1: [สำเนา]
คัดลอก!
2.4 benefits from tourism. คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว(Facilities Developed for Tourism Can Benefit Residents) การส่งเสริมท่องเที่ยวช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการ และ สิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ให้กับชุมชน รวมทั้งนำคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสู่ชุมชน ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการท่องเที่ยว อาทิ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงระบบสาธารณสุขและการขนส่ง การมีแหล่งสันทนาการและการกีฬาแห่งใหม่ การมีร้านอาหาร และ พื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น รวมถึงการมีตัวเลือกจำนวนมากของสินค้าและอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีได้รับการทำนุบำรุงขึ้นมาใหม่(Revaluation of Culture and Traditions) การท่องเที่ยวสามารถส่งเสริมการทำนุบำรุง และ การส่งต่อประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งช่วยส่งเสริม การอนุรักษ์และการจัดการอย่างยั่งยืนต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ การปกป้องมรดกของท้องถิ่น และ การฟื้นฟูงานฝีมือ ศิลปะ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ การท่องเที่ยวไม่ได้มีส่วนช่วยด้านการเงินในการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสนับสนุนทางอ้อมด้วย เช่น การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเรียนรู้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อรายได้ การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกของท้องถิ่นและของชาติยังผลให้เกิดความใส่ในการอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในด้านการดำเนินงาน และ การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเงื่อนไขสำคัญในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่หลากหลายอย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้เป็นผลลัพธ์ด้านบวกที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ในทางที่เหมาะสม สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ที่มีทัศนคติเชิงบวก ย่อมก่อให้เกิดแรงสนับสนุนที่มากกว่าและโอกาสที่ดีกว่า ในการพัฒนาและดำเนินการทางการท่องเที่ยว ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาชุมชน ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการตัดสินใจเพื่อพิจารณา ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว ระบบนิเวศน์ และ ความเสมอภาคของชุมชน2.5 ประวัติจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดชายแดนในภาคอีสานตอนล่าง ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมของหลากหลายชนชาติ โดยเฉพาะขอมโบราณ ที่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยอีสานได้อย่างลงตัวและกลมกลืน มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจศรีสะเกษยังมีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แหล่งน้ำ พืชพรรณ และสัตว์ป่านานาชนิด อันเป็นทั้งสิ่งที่หล่อเลี้ยงชาวเมืองมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและไม่ควรมองข้ามจังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่ประมาณ 8,840 ตารางกิโลเมตร หรือ 5.52 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลอนลาด ทางตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ทางตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักทอดตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มียอดเขาสูงสุด คือ พนมโนนอาว อยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีความสูง 671 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ศรีสะเกษเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในอดีตเคยเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากนานนับพันปี ตั้งแต่ในยุคขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่างๆ จากหลายเชื้อชาติอพยพมาตั้งรกรากอยู่ในบริเวณนี้จำนวนมาก ทั้งพวกส่วย ลาว เขมร และเยอ ในปี พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่เป็นตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน ขึ้นเป็น “เมืองนครลำดวน” ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ริมหนองแตระ และมีชื่อใหม่ว่า "เมืองขุขันธ์" หรือ "เมืองคูขัณฑ์" โดยมี “หลวงแก้วสุวรรณ” ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดี” เป็นเจ้าเมืองคนแรก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่เรียกว่า “เมืองศรีสะเกศ” จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองศรีสะเกศและเมืองเดชอุดมเข้าเป็นเมืองเดียวกับเมืองขุขันธ์ มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” เมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็น "จังหวัดขุขันธ์" ซึ่งเปลี่ยนอีกครั้งเป็น “จังหวัดศรีสะเกษ” เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่งพุทธศักราช 2481ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอไพรบึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุนหาญ อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอโนนคูณ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอพยุห์ กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และกิ่งอำเภอศิลาลาด
การแปล กรุณารอสักครู่..
 
ภาษาอื่น ๆ
การสนับสนุนเครื่องมือแปลภาษา: กรีก, กันนาดา, กาลิเชียน, คลิงออน, คอร์สิกา, คาซัค, คาตาลัน, คินยารวันดา, คีร์กิซ, คุชราต, จอร์เจีย, จีน, จีนดั้งเดิม, ชวา, ชิเชวา, ซามัว, ซีบัวโน, ซุนดา, ซูลู, ญี่ปุ่น, ดัตช์, ตรวจหาภาษา, ตุรกี, ทมิฬ, ทาจิก, ทาทาร์, นอร์เวย์, บอสเนีย, บัลแกเรีย, บาสก์, ปัญจาป, ฝรั่งเศส, พาชตู, ฟริเชียน, ฟินแลนด์, ฟิลิปปินส์, ภาษาอินโดนีเซี, มองโกเลีย, มัลทีส, มาซีโดเนีย, มาราฐี, มาลากาซี, มาลายาลัม, มาเลย์, ม้ง, ยิดดิช, ยูเครน, รัสเซีย, ละติน, ลักเซมเบิร์ก, ลัตเวีย, ลาว, ลิทัวเนีย, สวาฮิลี, สวีเดน, สิงหล, สินธี, สเปน, สโลวัก, สโลวีเนีย, อังกฤษ, อัมฮาริก, อาร์เซอร์ไบจัน, อาร์เมเนีย, อาหรับ, อิกโบ, อิตาลี, อุยกูร์, อุสเบกิสถาน, อูรดู, ฮังการี, ฮัวซา, ฮาวาย, ฮินดี, ฮีบรู, เกลิกสกอต, เกาหลี, เขมร, เคิร์ด, เช็ก, เซอร์เบียน, เซโซโท, เดนมาร์ก, เตลูกู, เติร์กเมน, เนปาล, เบงกอล, เบลารุส, เปอร์เซีย, เมารี, เมียนมา (พม่า), เยอรมัน, เวลส์, เวียดนาม, เอสเปอแรนโต, เอสโทเนีย, เฮติครีโอล, แอฟริกา, แอลเบเนีย, โคซา, โครเอเชีย, โชนา, โซมาลี, โปรตุเกส, โปแลนด์, โยรูบา, โรมาเนีย, โอเดีย (โอริยา), ไทย, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, การแปลภาษา.

Copyright ©2024 I Love Translation. All reserved.

E-mail: