ลานหน้าประตูแห่งนี้เคยมีข้าราชบริพารถูกโบยจนตายมาแล้ว เช่นกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง ที่ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนข้าราชบริพารจำนวน 130 คน ในความผิดฐานขัดขวางการเสด็จฯไปคัดเลือกสาวงามทางใต้ ในครั้งนั้นมีคนถูกตีจนเสียชีวิตถึง 11 คน
ประตูไท่เหอ อยู่ตรงกับประตูอู่ เป็นประตูทางเข้าหลักของตำหนักหน้า ซึ่งเป็นประตูที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดในพระราชวังต้องห้าม มีเอกลักษณ์คือ ที่หน้าประตูประดับด้วยสิงโตซึ่งทำจากทองสำริด 2 ตัว ด้านขวาเป็นสิงโตตัวผู้ด้านซ้ายเป็นสิงโตตัวเมีย ลานด้านหน้าซึ่งอยู่ระหว่างประตูอู่และประตูไท่เหอ เป็นลานที่กว้างที่สุดในพระราชวัง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 25,000 ตร.ม ในสมัยราชวงศ์หมิงใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดินและที่เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นจึงย้ายไปยังลานหน้าประตูเฉียนชิง
ตามหลักสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ ได้กำหนดให้ด้านหน้าเป็นที่ว่าราชการ ด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัย ตำหนักหน้า 3 หลังได้แก่ ตำหนักไท่เหอ ตำหนักจงเหอ และตำหนักเป่าเหอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจที่ยิ่งใหญ่นั้น จึงตั้งตระหง่านเรียงกันตามลำดับ ณ กึ่งกลางอาณาบริเวณส่วนหน้าของพระราชวัง
ถัดเข้าไปส่วนด้านหลังเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและมเหสีอีก 3 หลัง ได้แก่ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุณหนิง ก่อนเข้าสู่ตำหนักในส่วนหน้าพระราชวัง จะต้องผ่านประตูสำคัญ ได้แก่ ประตูอู่ และประตูไท่เหอ ประตูอู่ เป็นประตูแรกสุดของพระราชวัง ได้ชื่อตามหลักจักรราศีของจีน เนื่องจากหันหน้าไปทางทิศใต้และยังตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวัง บริเวณด้านหน้าประตูอู่ใช้เป็นที่จัดพิธีเฉลิมฉลองและรับเชลยศึกจากสงคราม และยังใช้เป็นที่ลงโทษข้าราชบริพารที่กระทำผิดด้วย
พระราชวังต้องห้าม สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เป็นทั้งบ้านและชีวิตของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ พระราชวังเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี มีชื่อในภาษาจีนว่า ‘กู้กง’ หมายถึงพระราชวังเดิม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จื่อจิ้นเฉิง’ ซึ่งแปลว่า ‘พระราชวังต้องห้าม’เหตุที่เรียกพระราชวังต้องห้าม เนื่องมาจากชาวจีนถือคติในการสร้างวังว่า จักรพรรดิเปรียบเสมือนบุตรแห่งสวรรค์ ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงต้องเป็น ‘ที่ต้องห้าม’ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถล่วงล้ำเข้าไปได้
พระราชวังต้องห้ามสร้างโดยยึดหลักขนบธรรมเนียมของระบบศักดินา คือ อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่จักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ดังนั้นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งจึงเน้นความใหญ่โตโอ่อ่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขาม มากกว่าเน้นในด้านประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆรวมถึง 9,999 ห้อง
ตามหลักสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ ได้กำหนดให้ด้านหน้าเป็นที่ว่าราชการ ด้านหลังเป็นที่อยู่อาศัย ตำหนักหน้า 3 หลังได้แก่ ตำหนักไท่เหอ ตำหนักจงเหอ และตำหนักเป่าเหอ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจที่ยิ่งใหญ่นั้น จึงตั้งตระหง่านเรียงกันตามลำดับ ณ กึ่งกลางอาณาบริเวณส่วนหน้าของพระราชวัง
ถัดเข้าไปส่วนด้านหลังเป็นตำหนักที่ประทับของจักรพรรดิและมเหสีอีก 3 หลัง ได้แก่ ตำหนักเฉียนชิง ตำหนักเจียวไท่ และตำหนักคุนหนิง ก่อนเข้าสู่ตำหนักในส่วนหน้าพระราชวัง จะต้องผ่านประตูสำคัญ ได้แก่ ประตูอู่ และประตูไท่เหอ ประตูอู่ เป็นประตูแรกสุดของพระราชวัง ได้ชื่อตามหลักจักรราศีของจีน เนื่องจากหันหน้าไปทางทิศใต้และยังตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวัง บริเวณด้านหน้าประตูอู่ใช้เป็นที่จัดพิธีเฉลิมฉลองและรับเชลยศึกจากสงคราม และยังใช้เป็นที่ลงโทษข้าราชบริพารที่กระทำผิดด้วย ลานหน้าประตูแห่งนี้เคยมีข้าราชบริพารถูกโบยจนตายมาแล้ว เช่นกรณีหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง ที่ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนข้าราชบริพารจำนวน 130 คน ในความผิดฐานขัดขวางการเสด็จฯไปคัดเลือกสาวงามทางใต้ ในครั้งนั้นมีคนถูกตีจนเสียชีวิตถึง 11 คน
ประตูไท่เหอ อยู่ตรงกับประตูอู่ เป็นประตูทางเข้าหลักของตำหนักหน้า ซึ่งเป็นประตูที่ใหญ่โตโอฬารที่สุดในพระราชวังต้องห้าม มีเอกลักษณ์คือ ที่หน้าประตูประดับด้วยสิงโตซึ่งทำจากทองสำริด 2 ตัว ด้านขวาเป็นสิงโตตัวผู้ด้านซ้ายเป็นสิงโตตัวเมีย ลานด้านหน้าซึ่งอยู่ระหว่างประตูอู่และประตูไท่เหอ เป็นลานที่กว้างที่สุดในพระราชวัง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 25,000 ตร.ม ในสมัยราชวงศ์หมิงใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดินและที่เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิงตอนต้นจึงย้ายไปยังลานหน้าประตูเฉียนชิง
สามตำหนักหน้า : ไท่เหอ จงเหอ เป่าเหอ
ตำหนัก 3 หลังในเขตพระราชฐานชั้นนอก ซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการแผ่นดิน และที่ทรงงานของจักรพรรดิ มี ตำหนักไท่เหอ เป็นตำหนักเอกที่มีความพิเศษที่สุด ดังนั้นจึงมีรูปแบบการก่อสร้างและการตกแต่งที่เป็นสุดยอดของพระราชวังต้องห้าม รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่จุดกึ่งกลางของนครปักกิ่งพอดี ตำหนักที่สูงตระหง่านที่สุดในพระราชวังแห่งนี้โดดเด่นบนฐานหินอ่อนสี ขาว 3 ชั้น ด้านหน้าตำหนักมีการจัดวางนาฬิกาแดดและเจียเลี่ยง ซึ่งเป็นเครื่องมือชั่งตวงวัดชนิดหนึ่งซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงทรงให้ทำเลียนแบบเจียเลี่ยงในสมัยถัง(ค.ศ.618-907) ตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่จัดพิธีสำคัญของราชสำนักตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงและ ชิง เช่น พิธีครบรอบพระชันษา พิธีฉลองขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
ถัดจากตำหนักไท่เหอ คือ ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักที่จักรพรรดิทรงประทับก่อนที่จะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆ ที่ตำหนักไท่เหอ และเป็นที่ทรงงานราชการ ตลอดจนเป็นที่ให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯ ตำหนักเป่าเหอ ตำหนักเป่าเหอมีความสำคัญลำดับรองจากตำหนักไท่เหอ มีหลังคาซ้อนสองชั้นเช่นเดียวกับตำหนักไท่เหอ ภายในใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่พยายามลดการใช้เสา ทำให้ภายในตำหนักมีความโปร่งโล่ง
จักรพรรดิจะทรงเปลี่ยนเครื่องทรงที่ตำหนักหลังนี้ก่อนจะเสด็จในการ พระราชพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับบรรดาขุนนางที่มีตำแหน่งสูง สมัยราชวงศ์ชิงตำหนักเป่าเหอยังใช้เป็นสนามสอบคัดเลือกขุนนางระดับสูงอีก ด้วย
สามตำหนักหลัง : เฉียนชิง เจียวไท่ คุนหนิง
ส่วนที่แบ่งระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและพระราชฐานชั้นในก็คือ ลานกว้างที่อยู่บริเวณ