ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอาหรับในประเทศไทย
ปัจจัยหลักของปัญหาในการเรียนการสอนภาษาอาหรับของระดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
ระดับอุดมศึกษา โดยมาตรฐานทั่วไป เป็นด่านสุดท้ายที่นักศึกษาจะออกไปสู่วงการประกอบอาชีพ ดูเหมือนว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในระดับชั้นเรียนก่อนหน้า จะไหลมารวมศูนย์อยู่ในระดับอุดมศึกษา นอกจากปัญหารอยต่อที่ต้องมาเริ่มต้นจากศูนย์ ทำให้นักศึกษาจำนวนมากสูญเสียเวลาเปล่าแล้ว สามารถสรุปปัญหาใหญ่ๆในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาปัจจุบัน ได้แก่
1. การขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความชำนาญ เนื่องจากบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์โดยตรงมีน้อย เพราะมุสลิมไทยที่ไปเรียนตะวันออกกลางส่วนใหญ่ไปเรียนคณะที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นบัณฑิตที่จบมาจากตะวันออกกลางที่มีความสามารถในภาษาอาหรับเป็นอย่างดี ก็ไม่นิยมเป็นครู เพราะเกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนทำให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอาหรับเปลี่ยนทิศในการประกอบอาชีพอื่นมากกว่าที่จะต้องการเป็นครู โดยเฉพาะไปเป็นล่ามตามโรงพยาบาลต่างๆ บางครั้งบางสถาบันอาจจะมีครูพิเศษมาสอนเป็นครั้งคราวไม่ต่อเนื่อง การเรียนการสอนภาษาอาหรับสำหรับนักศึกษาจึงสะดุด เพราะเกิดจากการเปลี่ยนบุคลากร หรือผู้ไม่ชำนาญทางภาษามาแก้ขัดสอนแทนบุคลากรที่ขาดแคลน
2. ตำราการเรียนการสอนในประเทศไทยมีน้อยและไม่หลากหลายรวมทั้งไม่มีความต่อเนื่อง ไม่มีหลักสูตร ขาดคู่มือครูทำให้มาตรฐานการสอนไม่เท่าเทียมกัน แม้ว่าการเรียนภาษาอาหรับในประเทศไทยแพร่หลายเป็นเวลานานในประเทศไทย แต่ตำราภาษาอาหรับในประเทศไทยไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก สอดคล้องกับผลการวิจัยของ มะตอเฮ มะลี พบว่า “ปัญหา อุปสรรคการเรียนการสอนภาษาอาหรับในสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้พบมากที่สุดคือ เจตคติของนักศึกษาต่อวิชาภาษาอาหรับ เนื่องจากรายวิชาดังกล่าวมีไวยากรณ์และความผังคำค่อนข้างยากแก่ผู้เรียนภาษาที่สองหรือภาษาที่สาม ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ (Maj Al-bakir:1987 ) พบว่า “ปัญหาสำคัญที่พบเจอกับผู้เรียนภาษาอาหรับที่เป็นภาษาที่สอง คือ อิธิพลของภาษาแม่ (ภาษาเดิม) ส่งผลกระทบต่อการเรียนภาษาอาหรับ ซึ่งเกิดปัญหากับการใช้ระดับและระบบเสียงของภาษาอาหรับที่ถูกต้อง” และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ(Mohammad Ibrahim:2003)พบว่า “ ความยากลำบากในการเรียนภาษานั้น อาจจะเกิดขึ้นจากความแตกต่างด้านธรรมชาติของภาษาเองและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ระดับเสียงของภาษา, อาทิ ความแตกต่างและความเหมือนระหว่างภาษาทีมีอยู่ในระบบเสียงหรืออยู่ในตัวอักษรภาษาเดิมของผู้เรียน “ และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ(อาอีชะห์ แวมามะ :2005) กล่าวว่า” ในจำนวนประโยคของภาษาประกอบด้วยคำ แต่ละคำของภาษาอาหรับยอมมี แหล่งกำเนิดของคำภาษาอาหรับเรียกว่า مصدر( มัซดัร)ซึ่งเป็นตัวแปรและผังคำเพื่อกระจายคำออกเป็นหลายๆรูปแบบ ด้วยเหตุนี้ มัซดัร มีอธิผลต่อประโยคของภาษาอาหรับมากที่สุด“
3. ขาดหลักสูตร และนโยบายในการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจนและดีเพียงพอ โดยที่ทุกระดับชั้นการเรียนเริ่มจากศูนย์ขาดรอยต่อ จึงทำให้เกิดการศูนย์เปล่า เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรจึงมีการหาบุคลากรบ่อยครั้ง ซึ่งทุกครั้งและบุคลากรทุกคนจึงเริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐานทำให้การประติดประต่อและระดับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนขาดความต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาใหญ่อยู่ที่รอยต่อของการศึกษาภาษาอาหรับของไทยในแต่ละระดับ ที่ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งประเทศอื่นจะไม่มีปัญหาในลักษณะนี้ โดยทุกระดับการเรียนจะเริ่มจากศูนย์หมด ประถมศึกษาก็เริ่มจากศูนย์ พอไปถึง ระดับมัธยมศึกษา ก็เริ่มจากศูนย์อีก พอไปถึงอุดมศึกษาก็เริ่มเรียนกันใหม่จากศูนย์อีก ซึ่งทำให้เกิดความสูญเปล่า ฉะนั้นถ้าจะแก้ปัญหาก็ต้องเชื่อมรอยต่อเหล่านี้เข้ามาหากัน
4. การเรียนการสอนไม่มีมาตรฐาน โดยผู้เรียนที่จบหลักสูตรวิชาเอกหรือโทต่างมหาวิทยาลัยกัน มีความรู้ภาษาอาหรับต่างกันมาก สำหรับหลักสูตรที่ใช้ในระดับอุดมศึกษาแตกต่างจากระดับอื่นๆ โดยมีการให้อำนาจค่อนข้างสูงแก่ผู้สอนในการเลือกใช้ตำรา แบบเรียน และสื่อการสอน ซึ่งหลักเกณฑ์ในการ “ผลิตตำรา” หรือ “เลือกตำรา” เองนี้ มีจุดอ่อนคือ ประสบการณ์และความสามารถของผู้สอนที่แตกต่างกัน และมหาวิทยาลัยไม่มีมาตรการตรวจสอบคุณภาพก่อนทำการสอน ก็เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาตามยถากรรมนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังพบว่าคนไทยสนใจเรียนภาษาอาหรับเพื่อการปฏิบัติศาสนกิจเท่านั้น และผู้ที่จบจากตะวันออกกลางส่วนใหญ่ก็นิยมไปเป็นล่ามตามโรงพยาบาลมากกว่าไปเป็นครูอาจารย์ หรือทำงานด้านวิชาการภาษาและวรรคดีนั้น มีน้อยลง นับเป็นสัญญาณที่ไม่ดีสำหรับวงการศึกษา และภูมิปัญญาด้านจีนในไทย
5. ขาดแรงจูงใจ และขาดการส่งเสริมในการใช้ภาษาอาหรับนอกชั้นเรียน ด้วยเพราะข้อจำกัดที่ทำให้การเรียนในไทยไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะการขาดโอกาสในการใช้ภาษาอาหรับอย่างเพียงพอในการสื่อสาร หรือการฟัง การอ่านหนังสือ ชมภาพยนตร์ อ่าน นิตยสารภาษาอาหรับนั้นมีน้อยมาก ขณะที่เวลาเรียนในชั้นเรียนมีน้อยเกินไป ไม่มีกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาอาหรับนอกห้องเรียน และแบบเรียนที่ส่วนใหญ่ใช้ตำราหรือหนังสือที่ต้องใช้เวลาในการเรียนนานและต่อเนื่อง แต่ของไทยมีระยะเวลาการสอนน้อย วิชาภาษาอาหรับที่ให้นักศึกษาเลือกเรียนมีอยู่จำกัด ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของนักศึกษาโดยตรง นอกจากนี้เทคนิคการสอนของครูที่ไม่น่าสนใจ และสุดท้ายคือความตั้งใจของผู้เรียนในไทยที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเท่านักศึกษาที่ไปเรียนภาษาในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการสื่อสารได้และใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้
6. สื่อ รูปแบบและวิธีการสอนที่ไม่น่าสนใจ ทำให้การเรียนชะงักงันเมื่อไม่เข้าใจก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย สอดคล้องกับผลการวิจัยของ มะตอเฮ มะลี พบว่า “ข้อเสนอแนะคิดเป็นร้อยละมากที่สุด คือ อยากมีการเรียนเน้นการปฏิบัติ เนืองด้วยส่วนใหญ่การจัดการเรียนการสอนเน้นทฤษฎี สอดคล้องกับแนวคิดของ (John Dewey : 1859 ) “ รูปแบบการสอนแบบปฏิบัติการมาประยุกต์เข้