เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ซีกหนึ่งของโลกจึงเป็นกลางคืนในขณะที่อีก ซีกหนึ่งเป็นกลางวัน ในปี 1884 โดยความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งหมด 25 ประเทศได้มีการกำหนดเขตแบ่งเวลากันขึ้น หากเราลากเส้นแบ่งที่กึ่งกลางโลกไปบรรจบกันเป็นวงกลม เส้นนี้จะเรียกว่า อีเควเตอร์ (Equator) ที่ประชุมได้แบ่งจากเส้นนี้ ออกไปอีก 24 เส้นจากทั้งหมด 360 องศารอบโลก นั่นหมายความว่า แต่ละเส้นจะห่างจากเส้นที่อยู่ติดกัน 15 องศา (360หาร24 = 15) โดยเริ่มนับเส้นแรกจากเส้นเวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษแต่ละเส้นจากทั้งหมด 24 เส้น จะเป็นการแสดงความแตกต่างของเวลาหนึ่งชั่วโมง
ประเทศไทย จะอยู่ในราวเส้นที่ 105 องศาตะวันออก หากหารด้วยสิบห้าก็จะได้เส้นแบ่งเวลาออกมาเป็นเส้นที่ 7 นั่นหมายความว่า เวลาในประเทศไทย จะล้ำหน้าเวลาในอังกฤษอยู่ 7 ชั่วโมงในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่ จะมีการแบ่งเขตเวลาภายในประเทศออกเป็นสี่เขตด้วยกัน คือ ตะวันออก ภาคกลาง เทือกเขา และ แปซิฟิก (Eastern, Central, Mountain and Pacific) เช่น เวลา 7 p.m. เวลาตะวันออก จะเป็น 6 p.m. เวลาภาคกลาง เป็น 5 p.m.เวลาเทือกเขา และเป็นเวลา 4 p.m. เวลาแปซิฟิก
วันและเวลาของโลกปฏิสัมพันธ์กับเส้นลองจิจูด โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เป็นมุม 360 องศา เอา 24 ไปหาร 360 จะได้ว่าโลกหมุนไปได้ชั่วโมงละ 15 องศา / นาทีละ 15 ลิปดา / วินาทีละ 15 ฟิลิปดา ดังนั้นค่าลองจิจูด หรือเส้นเมอริเดียนจะทำให้เราคำนวณเวลาทั้ง 24 เขตของโลก การแบ่งเวลาของโลกโดยแบ่งออกเป็น 24 เขต แต่ละเขตมีความกว้าง 15 องศาลองจิจูด หรือ เวลา 1 ชั่วโมง โดยเขตแรกมีเส้นเมอริเดียนแรก หรือเมอริเดียน 0 องศา ผ่านเมืองกรีนิชเป็นแกนกลาง เขตเวลาของโลกจะนับตามลองจิจูดใดก็ตาม ถ้านับไปทางตะวันออก จะเร็วกว่าทางตะวันตก และถ้านับไปทางตะวันตกจะช้ากว่าเวลาทางตะวันออก
ประเภทของเวลา
1. เวลามาตรฐานสากล(Greennich Mean Time) เวลาที่ลองจิจูด 0 องศา / เวลามาตรฐานกรีนิช
2. เวลามาตรฐาน(Standard time)โดยแต่ละประเทศจะกำหนดเวลาประเทศของตน ยึดหลักตามลองจิจูดหลักของเขตเวลาของโลกที่ผ่านประเทศของตน เช่น ประเทศไทยกำหนดเวลามาตรฐานตามเวลาที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากล 7 ชั่วโมงการนับเวลามาตรฐานของประเทศจะเท่ากันทั่วประเทศ แต่สำหรับประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ก็มีเวลามาตรหลายเวลาตามแต่ละเขตพื้นที่ เช่น อเมริกา รัสเซีย เป็นต้น
3. เวลาท้องถิ่น (Local time)เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านบริเวณนั้นจริงๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ที่ 105 องศาตะวันออก ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 7 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ลองจิจูดที่ 100 องศาตะวันออกจึงมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากลอยู่ 6 ชั่วโมง 40 นาที เวลาที่นับตามลองจิจูดที่ผ่านจริงนี้ เรียกว่า เวลาท้องถิ่นเส้นที่เกี่ยวข้องกับเวลาที่สำคัญเส้นแบ่งเขตวันสากล ( International Date Time) โดยกำหนดประมาณที่เส้นลองจิจูดที่ 180 เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากลแต่มีการเลี่ยงให้เส้นเขตวันนี้ผ่านเฉพาะพื้นน้ำ เพื่อขจัดปัญหาการมี 2 วันบนเกาะเดียวกัน ดังนั้นเส้นเขตวันนี้จึงไม่เป็นเส้นตรงตามเส้นเมอริเดียน 180 ตลอดทั้งเส้น อีกอย่างถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันตกต้องนับวันลดลง 1 วัน และถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันออกจะต้องนับวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน
สรุปคือ
1. เส้นสมมติที่ลากแบ่งซีกโลกเป็นสองซีก คือ เส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นที่ลากแบ่งซีกโลกเหนือ-ใต้
2. เส้นละติจูดมีประโยชน์ ในการแบ่งอุณหภูมิ (ลักษณะทางภูมิอากาศ) เป็นเส้นที่ลากจากทิศตะวันตก
ไปทิศตะวันออก
3. เส้นลองติจูด คือ เส้นสมมติ ใช้ในการบอกเวลา กรีนนิชประเทศอังกฤษ เป็นเส้นที่ลากจากขั้วโลกเหนือ
ไปยังขั้วโลกใต้
4. เส้นเมอริเดียน คือ เส้นสมมุติที่ลากแบ่งครึ่งโลกในแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยเส้นลองติจูดที่ผ่านเมืองกรีนิช
ประเทศอังกฤษ เป็นเส้นเมอริเดียนหลัก
5. เส้นลองจิจูดแต่ละเส้นมีความห่าง 1 องศา มีเวลาต่างกัน 4 นาที
6. เมอริเดียนลองจิจูด 0 องศาเรียกว่า เส้นเมอริเดียนหลัก ซึ่งเส้นนี้ถูกกำหนดให้เป็นเวลาสากล
เรียกเส้นนี้ว่า เวลาปานกลางกรีนิช
7. เวลามาตรฐานคือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในเขตภาคเวลา
8. เวลาท้องถิ่นคือ เวลาที่คิดตามความแตกต่างของท้องถิ่นต่างๆ โดยดูจากค่าลองติจูด
9. ทางราชการประกาศให้ประเทศไทยมีเวลาท้องถิ่นเวลาเดียวกันซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่าที่กรีนิช 7 ชั่วโมง
(6 ชั่วโมง 40 นาที)
10. เส้นวันที่คือ...เส้นสมมติที่ลากแบ่งโลกออกเป็น 2 ซีก.........เป็นเส้นเมอริเดียนของลองจิจูดที่ 180 องศา